1.ชื่อเต็มของฝ่าย/ศูนย์
ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ชื่อเต็มของฝ่าย/ศูนย์ภาษาอังกฤษ
Thai Red Cross Emerging Infectious Diseases Health Science Centre,
King Chulalongkorn Memorial Hospital
2. ประวัติความเป็นมาของฝ่าย / ศูนย์
ศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง เริ่มก่อตั้งเมื่อ เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2543 ด้วยทุนสนับสนุนจากสภากาชาดไทย ที่มีภารกิจหลักในด้านการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยทางสมองทั้งที่เกิดจากการติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ รวมทั้งงานพัฒนานวัตกรรมการตรวจโรคทางสมองและงานวิจัยโรคพิษสุนัขบ้าแบบครบวงจร และต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ.2551 ได้รับการแต่งตั้งจากองค์การอนามัยโลก ให้เป็น ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านค้นคว้าและอบรมโรคติดเชื้อไวรัสสัตว์สู่คน ที่เน้นการทำงานด้านโรคติดเชื้อไวรัสสัตว์สู่คนและโรคอุบัติใหม่เพิ่มมากขึ้นทั้งในด้านงานวินิจฉัย งานวิจัยและงานเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ในสัตว์ป่าสู่คน ที่นำมาสู่การพัฒนาศักยภาพในการตรวจโรคอุบัติใหม่ร้ายแรงที่แม้ไม่เคยเกิดในประเทศไทย อาทิ อีโบลา เมอร์ส ไข้เหลือง เป็นต้น โดยที่สามารถตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยติดเชื้อเมอร์สรายแรกของประเทศไทย และผู้ป่วยโควิด-19 รายแรกของโลกนอกประเทศจีนในประเทศไทยได้สำเร็จ โดยใช้เวลาการวินิจฉัยเบื้องต้นภายใน 8 ชั่วโมงและยืนยันผลการถอดรหัสพันธุกรรมได้ภายใน 24 ชั่วโมง
ต่อมาร่วมกับฝ่ายต่างๆในโรงพยาบาลพัฒนาเป็น ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ หนึ่งในหน่วยงานของศูนย์โรคติดต่ออุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่ได้รับอนุมัติจัดตั้ง ตามคำสั่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่ 1151/2559 ลงวันที่ 20 กันยายน 2559
3. วิสัยทัศน์และพันธกิจ
วิสัยทัศน์
Internationally Renowned Health Science Center
ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพระดับนานาชาติ ด้านการวิจัย วินิจฉัย รักษา และควบคุมโรคอุบัติใหม่ และโรคสมอง
พันธกิจ
Upstream Operation ปฏิบัติการเชิงรุกถึงแหล่งกำเนิดโรค
Advance Innovation พัฒนานวัตกรรมที่สามารถวินิจฉัย ป้องกัน รักษา และควบคุมโรคอุบัติใหม่
4. โครงสร้าง หรือ หน่วยงานย่อย ของฝ่าย/ศูนย์
1. แผนกทะเบียนและธนาคารตัวอย่าง
2. แผนกงานบริการทางห้องปฏิบัติการ
○ โรคติดเชื้อ
○ โรคทางสมอง
3. แผนกงานวิจัยและพัฒนา
○ งานวิจัยและนวัตกรรม
○ งานชีวสารสนเทศและธนาคารรหัสพันธุกรรม
4. แผนกงานบริหาร
5. การให้บริการของฝ่าย / ศูนย์
1. งานบริการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ
1.1 โรคที่ต้องจับตา
ตรวจวินิจฉัยสิ่งส่งตรวจผู้ป่วยโรคติดต่ออันตรายและโรคระบาดประจำถิ่นที่มีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงจากการกลายพันธุ์หรือเป็นโรคระบาดอื่นๆ เช่น การระบาดของโรคไข้เลือดออกซิกา ไข้หวัดใหญ่ โรคอุจจาระร่วงที่ทำให้เสียชีวิตหรือระบาดในวงกว้างอย่างรวดเร็ว ด้วยนวัตกรรมถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อโรคหรือตัวบ่งชี้ต้นตอ
1.2 โรคที่มีโอกาสจะข้ามถิ่นมาระบาดในไทย
พัฒนานวัตกรรมและบริการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการโรคต่างถิ่น ที่มีโอกาสข้ามถิ่นก่อโรคติดต่ออันตราย หรือระบาดได้ในประเทศไทย เช่น อีโบลา ไข้เหลือง เมอร์ส เพื่อให้สามารถตรวจจับโรคได้ก่อนที่จะแพร่สู่ชุมชนในวงกว้าง
1.3 โรคอุบัติใหม่ที่ยังไม่เคยเกิดที่ใดมาก่อน
ตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไม่ทราบสาเหตุเชิงลึก ในระดับโมเลกุล เพื่อค้นหาสาเหตุการเกิดโรคที่อาจจะเป็นเชื้อใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน หรือเป็นเชื้อโรคเดิมแต่ก่อโรคในกลุ่มอาการใหม่
1.4 โรคทางสมอง
ตรวจวินิจฉัยโรคทางสมองครบวงจร ทั้งโรคติดเชื้อและที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ อาทิเช่น โรคสมองที่เกิดจากภูมิคุ้มกัน โรคความเสื่อมของระบบประสาท และโรคสมองอื่นๆ ให้บริการทั้งผู้ป่วยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และหน่วยงานอื่น ๆทั้งภายในและภายนอกประเทศ
2. งานบริการวิชาการ
เพื่อสนับสนุนกระทรวงสาธารณสุขด้านการด้านการวิจัย วินิจฉัย รักษา และควบคุมโรคอุบัติใหม่ และโรคสมอง ในมิติต่างๆ อาทิ งานสอบสวนโรคร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อเมื่อเกิดโรคระบาดไม่ทราบสาเหตุ วิจัยและพัฒนาการตรวจโรคสมองเสื่อมเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการรองรับความเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลมาจากสังคมสูงอายุ ร่วมจัดทำคู่มือการดูแลโรค เวชปฏิบัติ คู่มือการตรวจวินิจฉัย เป็นคณะกรรมการ-ผู้เชี่ยวชาญของกระทรวงสาธารณสุข จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู่สู่สาธารณะทั้งระดับวิชาการและประชาชน เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่หน่วยงานภายนอก จัดทำเว็บไซต์เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคอุบัติใหม่ (www.trceid.org)
3. ปฏิบัติการเตรียมความพร้อมรับมือโรคอุบัติใหม่
3.1 ปฏิบัติการเชิงรุกค้นหาแหล่งกำเนิดโรค โรคอุบัติใหม่ที่ยังไม่เคยเกิดที่ใดมาก่อน เพื่อการเตรียมความพร้อมรับมือโรคอุบัติใหม่ ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายระดับประเทศ และนานาชาติ
3.2 พัฒนานวัตกรรมที่สามารถวินิจฉัย ป้องกัน รักษา และควบคุมโรคอุบัติใหม่ โดยมีความพร้อมรองรับโรคที่เกิดจากเชื้อได้หลากหลายรูปแบบ และครอบคลุมกลุ่มโรคที่ไม่เคยระบาดในประเทศไทยมาก่อน อาทิเช่นโรควัวบ้า
3.3 พัฒนานวัตกรรมที่สามารถวินิจฉัยและพยากรณ์โรคความเสื่อมของระบบประสาทตั้งแต่ระยะที่ยังไม่มีอาการ ที่ตรวจได้สะดวก รวดเร็ว มีราคาถูก และนำไปใช้ได้อย่างแพร่หลาย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายอุบัติการณ์ของโรค คาดคะเนภาระทางเศรฐกิจและสังคมในอนาคตอันใกล้ อันเป็นผลมาจากโรคเหล่านี้ มีเป็นแนวทางในการเตรียมรับมือ ป้องกันและค้นคว้าหาวิธีรักษา
3.4 สร้างเครือข่ายระดับชาติ และนานาชาติ เพื่อการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม และนวัตกรรมด้านการค้นหาโรคเชิงรุก
4. งานพัฒนาเชิงรุกโรคอุบัติใหม่
4.1 งานวิจัยและพัฒนา การป้องกัน-รักษาโรค: วัคซีน ยาต้านเชื้อไวรัส เทคโนโลยีรักษาใหม่ๆ
4.2 การศึกษาวิทยาศาสตร์พื้นฐานเพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการพัฒนาต่อยอดเพื่อการรักษาและควบคุมโรคทั้งโรคติดเชื้อ และไม่ติดเชื้อ
4.3 ธนาคารตัวอย่างชีวภาพ โรคติดเชื้อ เพื่อการตรวจสอบสาเหตุของโรคย้อนหลังและการวิจัย
4.4 ธนาคารตัวอย่างทางชีวภาพ โรคความเสื่อมของระบบประสาท เพื่อใช้ตัวอย่างในการวิจัยสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของโรค พัฒนาการตรวจเพื่อวินิจฉัยและพยากรณ์โรค นำไปสู่การค้นคว้าหาวิธีรักษาโรคที่มีประสิทธิภาพ
4.5 ระบบธนาคารรหัสพันธุกรรมเชื้อโรคเชื่อมโยงข้อมูลด้านคลินิกและระบาดวิทยา Clinical Genomic Integration Platform (CGIP)
ผลงานที่โดดเด่นของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ (ทำเป็น timeline พร้อม link ตัวอย่างผลงาน pdf/link)
- 2563 ตรวจยืนยันผู้ป่วยโควิด-19 รายแรกในประเทศไทยและรายแรกของโลกที่พบนอกประเทศจีนได้สำเร็จ ช่วยให้ประเทศไทยสามารถชะลอการระบาดของโรคได้สำเร็จ
- 2563 พัฒนานวัตกรรมการตรวจวินิจฉัยโควิด-19 ราคาประหยัด 10 เท่า ได้สำเร็จ โดยการตรวจแบบรวมตัวอย่างที่ไม่กระทบคต่อประสิทธิภาพการตรวจ
- 2559 ตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยติดโรคเมอร์ส รายแรกของประเทศไทยได้สำเร็จ ใช้เวลาตรวจวินิจฉัยและยืนยันรหัสพันธุกรรมเชื้อไวรัสได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังได้รับตัวอย่าง
- 2559 การศึกษาการใช้ยาต้านไวรัส RNA และการสร้างไวรัสปรับแต่งพันธุกรรม ปรากฏว่าสัตว์ทดลอง ได้แก่ หนู และสุนัข สามารถรอดชีวิตจากเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าได้
- 2559 การตรวจพบกลไกการเกิดโรคสมองอักเสบจากเชื้อเริม
- 2557 สามารถตรวจวินิจฉัยเชื้ออีโบลาได้เป็นแห่งแรกของประเทศไทย แม้ปัจจุบันยังไม่พบผู้ป่วยก็ตาม
- 2556 ค้นพบอาการของสมองอักเสบคล้ายติดเชื้อไวรัสนั้น 25% เกิดจากภูมิคุ้มกันแปรปรวน นำมาสู่การพัฒนาการวินิจฉัยและรักษา
- 2545 ค้นพบเชื้อไวรัสสมองอักเสบนิปาห์ในค้างคาวแม่ไก่ไทยแต่ไม่พบการระบาดในคน สำรวจร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์
- 2543 – ปัจจุบัน ถ่ายทอดความรู้ให้สังคมไทย เพื่อให้สามารถเฝ้าระวังอาการผิดปกติ ดูแลตนเองและครอบครัวได้อย่างถูกต้อง
6. วัน /เวลา และสถานที่ให้บริการ
ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ฯ เปิดให้บริการเวลา
08.30 - 17.00 น. (เว้นวันหยุดราชการ) และกรณีสถานการณ์ฉุกเฉิน
เปิดบริการ 24 ชั่วโมง ณ อาคาร อปร. ชั้น 9 ห้อง 901/5
7. ข้อมูลติดต่อ
ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ อาคาร อปร. ชั้น 9
เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน 02-256 -4000 ต่อ 3622
The Laboratory for Neurological Diseases was founded in October 2000 by funding from the Thai Red Cross Society with the primary missions of diagnosis and treatment of both infectious and non-infectious brain diseases along with the comprehensive development of innovative diagnostics for brain diseases and rabies research.
Later, in October of 2008, the centre was appointed by the World Health Organization as the World Health Organization Collaborating Centre for Research and Training on Viral Zoonoses which increased emphasis on wildlife-to-human viral infections and emerging infectious diseases in the realms of diagnosis, research and surveillance.
This effort had led to an improvement in the capacity of diagnosing severe emerging diseases including ones that has never occurred in Thailand such as Ebola, MERS or yellow fever. The centre itself could diagnose the first MERS patient in Thailand and the world’s first Covid-19 patient outside China. For the latter case, it took only 8 hours for provisional diagnosis and was subsequently confirmed by genetic sequencing within 24 hours.
Recently, the centre collaborated with various sectors in the hospital to form the Emerging Infectious Diseases Health Science Centre as a part of the Emerging Infectious Disease Centre, Faculty of Medicine, King Chulalongkorn Memorial Hospital that was approved according to the order of King Chulalongkorn Memorial Hospital No. 1151/2016 dated 20 September 2016.
Vision
Internationally Renowned Health Science Centre in research, diagnosis, treatment and control of emerging infectious diseases and brain diseases.
Mission
Upstream operation
Advance Innovation
The Thai Red Cross Emerging Infectious Diseases Health Science Centre consists of the following subdivisions:
1. Registration and biobank
2. Service laboratory
• Infectious diseases
• Brain diseases
3. Research and development
• Research and innovation
• Bioinformatics and genetic database.
4. Administration
Services
1. Laboratory diagnostic services
1.1. Priority diseases
To perform tests, using high-throughput DNA sequencing technology, on specimens from patients with priority emerging infections or endemic diseases that are likely to mutate and intensify their severity such as dengue, Zika, influenza or diarrheal infections. These diseases tend to be easily disseminated or are associated with morbidity/mortality and could potentially generate a public health emergency.
1.2. Cross borders infectious diseases
To develop the technology and laboratory services for diagnosis of non-endemic diseases with the potential to cross geopolitical boundaries and poses epidemic threat in Thailand such as Ebola, yellow fever or MERS in order to proactively identify, mitigate or control such occurrence.
1.3. Novel emerging infectious diseases
To investigate infectious diseases from unknown causes using advanced molecular diagnostics. This could lead to a discovery of a novel pathogen or a novel syndrome caused by a known pathogen.
1.4. Brain diseases
Comprehensive diagnostic tests for brain diseases, both infectious and non-infectious, including immune-mediated diseases, neurodegenerative diseases, etc. The service is provided not only to patients from King Chulalongkorn Memorial Hospital but also to other patients both domestically and internationally.
2. Academic services
To assist the Ministry of Public Health on research, diagnostics, treatment and control of emerging diseases and brain diseases in various dimensions. These services include:
• Outbreak investigations on diseases of unknown causes
• Research on biomarkers of dementing illness as a mean to dampen the anticipated consequences of the inevitable demographic transformation to ageing society
• Development of clinical practice guidelines and diagnostic manuals
• Provide committee/experts for the Ministry of Public Health
• Organizing workshops for training and knowledge transfer at both academic and public levels
• Guest speaker for external organizations
• Organize a website with the primary aim of public education and providing an accurate understanding of emerging infectious diseases [www.trceid.org].
3. Emerging disease response preparedness
3.1. Execute upstream investigation, collaborating with nationwide and international efforts, in order to identify the ultimate sources of new pathogens and prepare for their emerging infections.
3.2. Develop the technology to diagnose, prevent, treat and control emerging diseases from a diverse range of pathogens including ones whose outbreak has never occurred in Thailand such as mad cow disease.
3.3. Develop innovations for diagnosing and predicting progression of neurodegenerative diseases at the earliest stages when there is no symptom. This technology will be rapid, convenient, affordable and widely available for practice in most settings. It will provide us with an accurate depiction of the incidence of symptomatic disease and the accompanying socioeconomic burden in the near future. From the standpoint of national policy, this data will guide us on how to address, prevent and search for novel therapeutics.
3.4. Establish national and international networks for development and technology transfer as well as innovations for upstream investigations.
4. Proactive development for emerging diseases
4.1. Research and development, prevention-treatment: vaccines, antivirals, novel therapeutics.
4.2. Conduct basic science research in order to acquire the knowledge needed for applying to the treatment and control of both infectious and non-infectious diseases.
4.3. Infectious disease biobanking for retrospective investigation of causative agent and research.
4.4. Neurodegenerative disease biobank, which will facilitate research on molecular pathology, development of diagnostic assays and ultimately lead to effective treatment.
4.5. Clinical genomic integration platform (CGIP).
The outstanding works of Thai Red Cross Emerging Infectious Diseases Health Science Centre
1. 2021 - Prion diseases: The very first in South East Asia to use the RT-QuIC technology for diagnosing Creutzfeldt-Jakob disease. This is deemed the critical milestone in searching for treatment of other neurodegenerative diseases.
2. 2020 – COVID-19: The first in the world to confirm COVID-19 outside China. This helped Thailand to successfully contained pandemic.
3. 2020 – COVID-19: Developed the innovation to diagnose COVID-19 successfully using a tenth of the usual cost. This is done by pooling specimens whereas the testing efficiency is unaffected.
4. 2017 – Rabies: Hosted the meeting where the WHO expert consultation on rabies: third report was written and made much contribution in creating the guideline.
5. 2016 – MERS: The first to diagnose MERS in Thailand, the sequence was confirmed within 24 hours after receiving the specimen.
6. 2016 – Rabies: Tested siRNA antivirals and genetically modified viruses in animal models (mouse and dog) where they were successfully demonstrated to be capable of preventing death.
7. 2016 – Encephalitis: identified a pathogenic mechanism of herpes encephalitis.
8. 2014 - Ebola: The first with the capacity to diagnose Ebola in Thailand, albeit there has not been any.
9. 2013 – Encephalitis: Showed that viral-like encephalitic syndromes are caused by autoimmunity in 25% of the cases. This led to the development of diagnostics and therapeutics.
10. 2002 – Nipah encephalitis: Detection of Nipah virus in Pteropus bats in Thailand with the collaborative efforts from the Department of National Park, Wildlife and Plant Conservation and Kasetsart University, albeit there was no human outbreak.
11. 2000-Present – Community: Provide knowledge to Thai society that ones may make appropriate health decisions for themselves and their families.