NEWS

โรคไวรัสนิปาห์


โรคไวรัสนิปาห์
หมอดื้อ
19/9/64
โรคนี้เป็นที่ทราบกันดี ตั้งแต่มีการระบาดในมาเลเซีย และสิงคโปร์ในปี  1998 จากหมูที่ได้รับเชื้อจากค้างคาว ที่เกาะอยู่เหนือโรงเลี้ยง ผ่านทางละอองฝอย เยี่ยวและน้ำลาย รวมกระทั่งถึงที่ ปะปนอยู่กับผิวของผลไม้ และติดต่อมายังคนที่ทำงานในโรงฆ่าและชำแหละหมู และซากหมูติดต่อมาหมาและแมว ที่ไปกิน โดยไม่มีการติดต่อจากคนสู่คน 
แต่แล้วในที่สุดพบว่าแท้ที่จริงแล้วเป็นโรคประจำถิ่นของอินเดียและบังคลาเทศ
ซึ่งเป็นทุกปีมาตลอดจนกระทั่งถึงปัจจุบันโดยลักษณะ เป็นฤดูกาล ตามลักษณะของการปลดปล่อยเชื้อของไวรัสจากค้าวคาวเป็นช่วง
โดยค้างคาวมากินน้ำคล้าย
อินทผาสัมสดที่รองจากต้นในเวลากลางคืนและจากนั้นคนมาดื่มต่อโดยไม่ได้ทำให้สุก และมีการติดต่อจากคนสู่คน รวมกระทั่งถึงมีการสัมผัสกับเปลือกผิวของผลไม้ต่างๆที่มีไวรัสปะปนอยู่และมีการติดเชื้อทางเยี่อบุ
ลักษณะของโรคอาจแตกต่างกันอยู่บ้างจากที่พบในมาเลเซียที่มีอาการเด่นทางสมองอย่างเดียวโดยมีแบบเฉียบพลัน (acute) เกิดจากเส้นเลือดสมองอักเสบแต่เมื่อหายแล้วกลับเป็นใหม่ได้ภายในช่วงระยะเวลาสองปี (relapse)แต่สมองอักเสบเป็นลักษณะของเซลล์สมองที่ผิวเปลือก (cortex)  มีความผิดปกติ ทั้งนี้คนที่ได้รับเชื้อตั้งแต่ต้นอาจไม่แสดงอาการจนกระทั่งเกือบสองปีให้หลังก็ได้ (late onset)
อาการของโรคที่เกิดขึ้นที่บังกลาเทศจะมีปอดบวมร่วมด้วย ดังนั้นจึงทำให้มีการแพร่กระจายไปได้ในกลุ่ม แต่ไม่ชัดเจนว่าจะมีการเกิดโรคแบบซ้ำในภายหล้งหรือที่เกิดหน่วงเวลาหลังจากที่ได้รับเชื้อหรือไม่แบบมาเลเซีย
ในประเทศฟิลิปปินส์ในปี 2014 มีการระบาดเป็นกลุ่มในโรงชำแหละม้าโดยอาการที่เป็นมีลักษณะคล้ายไข้หวัดใหญ่โดยที่มีหรือไม่มีเยอะหุ้มสมองอักเสบร่วมด้วย
ในประเทศไทย จากการสำรวจพบว่าค้าวคาวไทย มีไวรัสนิปาห์ทั้งสองกลุ่มคือแบบมาเลเซียและบังคลาเทศ 
และตั้งแต่ปี 2003 จนถึงปัจจุบัน กรมปศุสัตว์ ร่วมกับกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช มีการสร้างมาตรการในการป้องกันค้าวคาว ปลดปล่อยละอองฝอยที่อาจมีเชื้อมายังเล้าหมู ม้า และสัตว์อื่นๆรวมกระทั่งถึงมีการตรวจเฝ้าระวังโรคในหมูโดยการตรวจสัตว์ป่วยและตรวจหาหลักฐานการติดเชื้อจากเลือด ซึ่งไม่พบว่ามีการติดเชื้อใดๆ โดยจำนวนที่ตรวจในช่วงระหว่างปี 2003 ถึง 2011 มีจำนวน 46,528 ราย และทางกรมปศุสัตว์ยังคงมีการเฝ้าระวังตลอดจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ในระดับคนมีการเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มาด้วยอาการทางสมองอักเสบหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบโดยไม่ทราบสาเหตุโดย ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ได้ทำการตรวจที่ รพ จุฬา ตั้งแต่ปี 2001 จนกระทั่งถึงปี 2012 ไม่พบไวรัสนิปาห์ในผู้ป่วย 232 ราย และจากนั้นจนถึงปัจจุบันยังคงมีมาตรการในการตรวจไวรัสตัวนี้อยู่ตลอด
ไวรัสนิปาห์ อาจจะไม่เป็นเรื่องยากและซับซ้อนเท่ากับที่เห็นในโควิดในปัจจุบันทั้งนี้เนื่องจากการแสดงออกของโรคหลังจากได้รับเชื้อจะมีอาการชัดเจนไม่ว่าจะเป็นเรื่องไข้ อาการปอดอักเสบและอาการทางสมอง และผู้ป่วยเมื่อมีอาการส่วนมากจะหยุดอยู่นิ่ง ไม่สบาย จนไม่สามารถแพร่เชื้อไปที่อื่นในวงกว้างได้ แต่ กระนั้นมีกรณีที่มีการแพร่จากผู้สอนศาสนาในบังกลาเทศไปยังผู้ร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนสิบได้ หรือที่เรียกว่า superspreader
การที่เกิดมีเด็กอายุ 12 ปีเสียชีวิตในเขตทางใต้ของประเทศอินเดีย อาจเป็นจากการกินผลไม้ที่เปลือกมีสิ่งคัดหลั่งที่มีเชื่อไวรัสปะปนอยู่ ซึ่งทางการของประเทศอินเดียได้มีการกักตัวผู้ที่สัมผัสกับคนป่วย 188 รายและยังไม่มีรายงานการแพร่ระบาดในวงกว้าง
หนทางในการก่อโรคในคนเช่นนี้ ยังเกิดขึ้นได้จากการที่คนไปรุกล้ำป่า จับสัตว์ป่าฆ่ากิน เอาเลือดค้างคาวมาดื่ม ซึ่งมีเชื้อไวรัสอยู่ด้วย ซึ่งทำให้มีโอกาสสัมผัสกับเลือดอวัยวะ สิ่งคัดหลั่งต่าง ๆ และแพร่ไปยังคนในครอบครัว 
สรุป มนุษย์ต้องเลิกลดละ การบุกรุกทำลายนิเวศของสัตว์ ธรรมชาติ และป่าไม้และทำให้สัตว์ป่าที่ปฏิบัติตัวเป็นแหล่งรังโรคโดยไม่มีอาการทำการย้ายถิ่นฐานและมีโอกาสแพร่เชื้อไปยังมนุษย์และสัตว์เศรษฐกิจได้ง่าย
จนระบาดมายังคน

source : https://www.facebook.com/thiravat.h/photos/pcb.4886824121351103/4886821811351334/

CLICK TO VERIFY: This site uses a GlobalSign SSL Certificate to secure your personal information.