ARTICLE

ยาเก่า..ความหวังใหม่ของ โควิด-19

ในประเทศที่เบี้ยน้อยหอยน้อย มิหนำซ้ำเจอ โควิด-19 ซ้ำเติม ไหนเศรษฐกิจจะล่มจม แล้วยังต้องรักษาคนที่ติดแล้วมีอาการจนต้องเข้าโรงพยาบาลและเมื่ออาการมากขึ้นเรื่อย ๆ จำเป็นต้องใช้ยาประกบหลายขนาน ทั้งนี้เริ่มตั้งแต่ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสไปจุดชนวนการอักเสบ ทั้งนี้โดยผ่านการหลอกล่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ ทำให้ผลิตสารอักเสบอย่างมากมายมหาศาล และกระทบเนื้อเยื่อทุกอวัยวะของร่างกายรวมกระทั่งถึงหลอดเลือดและทำให้เลือดข้นไปอีก

ยาเก่า..ความหวังใหม่ของ โควิด-19.

ในประเทศที่เบี้ยน้อยหอยน้อย มิหนำซ้ำเจอ โควิด-19 ซ้ำเติม ไหนเศรษฐกิจจะล่มจม แล้วยังต้องรักษาคนที่ติดแล้วมีอาการจนต้องเข้าโรงพยาบาลและเมื่ออาการมากขึ้นเรื่อย ๆ จำเป็นต้องใช้ยาประกบหลายขนาน ทั้งนี้เริ่มตั้งแต่ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสไปจุดชนวนการอักเสบ ทั้งนี้โดยผ่านการหลอกล่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ ทำให้ผลิตสารอักเสบอย่างมากมายมหาศาล และกระทบเนื้อเยื่อทุกอวัยวะของร่างกายรวมกระทั่งถึงหลอดเลือดและทำให้เลือดข้นไปอีก
เมื่ออาการแย่ลงยังต้องใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ในการช่วยชีวิตในระดับต่าง ๆ และห้องไอซียูซึ่งต้องการห้องที่มีความดันลบเพื่อกันไม่ให้ละอองเชื้อหลุดออกมาจากห้องผู้ป่วย รวมกระทั่งถึงบุคลากรมากมายมหาศาลซึ่งต้องใส่ชุดป้องกันตัว
คนที่ติดเชื้อ โควิด-19 และมีอาการจนต้องเข้าโรงพยาบาลในความรุนแรงต่าง ๆกัน ต่างก็ต้องอยู่ในโรงพยาบาลกันตั้งแต่สองสัปดาห์ไปจนกระทั่งนานกว่าสามเดือนก็มีและถ้าคิดเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล แน่นอนแต่ละคนเริ่มตั้งแต่เป็น 100,000 จนกระทั่งมากกว่าสามถึงสี่ล้านบาท และในคนที่โชคร้าย อวัยวะเสียหายถาวรจึงต้องมีการใช้อุปกรณ์ช่วย เช่นไตวายในช่วงที่ติดเชื้อ โควิด-19 และไม่ฟื้นจึงต้องทำการล้างไตตลอดชีวิต

การศึกษาในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะจะมาจากประเทศที่ไม่ได้ร่ำรวยนัก เช่นประเทศกรีซ รายงานการใช้ยารักษาปวดข้อเกาต์ colchicine ก็สามารถที่จะลดการอักเสบได้อย่างน่าพอใจ ถ้าเริ่มให้ตั้งแต่ระยะแรกที่เกิดมีการอักเสบ และเช่นเดียวกับยาลดไขมันในกลุ่มสเตติน ซึ่งมีสรรพคุณในการลดการอักเสบเช่นกัน และพบว่าคนที่ใช้ยาในกลุ่มนี้อยู่แล้ว โรคจะมีความรุนแรงน้อยกว่า ยาอื่น ๆ ที่มีการพิสูจน์แล้วว่า ใช้ได้ผลคือยารักษามาเลเรีย hydroxychloroquine โดยใช้ขนาดยาไม่มาก เมื่อใช้ตั้งแต่ตอนเริ่มต้นที่มีการจุดชนวนการอักเสบขึ้น โดยจะร่วมหรือไม่ร่วมกับยาโรคกระเพาะ ranitidine bismuth citrate สามารถที่จะบรรเทาความรุนแรงลงได้ ทั้งนี้โดยใช้กลไกในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสร่วมกับการบรรเทาการอักเสบ
ยาประเภทนี้ เรียกว่าเป็น ยาเก่าที่นำมาใช้รักษาโรคใหม่ (repurposing drugs)

ยาอีกตัวที่มีการศึกษาและมีการรายงานจากประเทศสเปน เป็นยาฆ่าพยาธิ ไอเวอเมกติน (ivermectin) ใน EClinical Medicine 14 มกราคม 2021 ทั้งนี้มีระเบียบวิจัยและวิธีการที่รัดกุม
ยาฆ่าพยาธิดังกล่าว เป็นยาที่ใช้มาเนิ่นนานและมีประสิทธิภาพกับพยาธิหลายชนิด ทั้งนี้เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2020 มีคณะผู้วิจัยได้ตีพิมพ์ประสิทธิภาพของยานี้ในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส โควิด-19 ในหลอดทดลอง โดยใช้ความเข้มข้นของยาเล็กน้อย จากนั้นมีความเห็นแตกต่างกันเป็นสองฝ่ายทั้งที่ไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง กับฝ่ายที่เห็นด้วยและนำไปใช้ แม้ว่าจะไม่ได้มีการทำการศึกษาความปลอดภัยหรือประสิทธิภาพในคนที่ติดเชื้อ โควิด-19 จริงอย่างกว้างขวางก็ตาม เนื่องจากเหตุผลของความเร่งด่วนและความที่เป็นยาถูกและสามารถเข้าถึงได้
ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนเมษายนปีที่แล้วเป็นต้นมา ก็เริ่มมีรายงานหลายฉบับจากการสังเกตและรวมผู้ป่วยจำนวนหลายรายเข้าในรายงาน แสดงให้เห็นถึงความมีประโยชน์ของยาฆ่าพยาธินี้

ซึ่งเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีมาตรฐานและมีการใช้ยาหลอก มาเปรียบเทียบด้วยโดยผู้รักษาและผู้ป่วยไม่ทราบว่าได้รับยาอะไร

การศึกษานี้รวมผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับ โควิด-19 ในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงของการที่มีอาการไข้หรือไอ โดยที่มีการตรวจหาเชื้อว่ามีเชื้อจริง จากกระบวนการ PCR
ทั้งนี้คนที่ไม่พบเชื้อแต่มีภูมิคุ้มกัน IgG ขึ้นอย่างเดียวหรือมีโรคอย่างอื่นที่สุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรค โควิด-19 อย่างรุนแรงขึ้น ในระยะต่อมาหรือที่มีหลักฐานว่ามีปอดบวมตั้งแต่ต้น จะไม่รวมอยู่ในการศึกษานี้
การศึกษานี้ทำในช่วงระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคมถึงวันที่ 11 กันยายนของปี 2020 โดยใช้ยาฆ่าพยาธิในขนาด 400 ไมโครกรัมต่อกิโลและให้กินครั้งเดียวเท่านั้น
จุดประสงค์ในการศึกษาเพื่อที่จะพิจารณาประสิทธิภาพของการใช้ยาฆ่าพยาธิเพียงหนึ่งโดส และให้แก่ผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงและไม่มีปัจจัยเสี่ยงภายในเวลา 72 ชั่วโมงหลังจากที่มีอาการ ทั้งนี้เพื่อดูว่าสามารถที่จะลดการแพร่ของเชื้อไวรัสต่อไปได้หรือไม่
การประเมินผู้ป่วยทำอย่างถี่ยิบ ในวันที่ 4 7 14 21 และ 28 มีการตรวจร่างกาย และมีการเจาะเลือดเพิ่มเติมในวันที่เจ็ดและ 14 โดยครอบคลุมการตรวจเม็ดเลือดมาตรฐาน ค่าไต การตรวจดูค่าและผลการอักเสบในเลือด (CRP procalcitonin ferritin creatinine phosphokinase LDH troponin T. D dimer IL6)

การแยงจมูกเพื่อหาเชื้อทำในวันแรก วันที่สี่ เจ็ด 14 และ 21โดยตรวจหา ยีน N E และหาค่าปริมาณไวรัส และถ้าพบเชื้อท่อนพันธุกรรมจะนำไปเพาะในเซลล์เพาะเลี้ยง เพื่อพิสูจน์ว่ายังสามารถติดต่อได้

ผู้ติดเชื้อในการศึกษานี้เริ่มต้นมี 94 รายแต่ตัดออก 50 รายเนื่องจากไม่ตรงกับลักษณะที่กำหนดและ 20 รายปฏิเสธที่จะร่วมในการศึกษา ทั้งนี้เหลือ 12 รายที่ได้รับยาและอีก 12 รายที่ได้รับยาหลอก

ผลของการศึกษาเมื่อติดตามไปจนกระทั่งถึง 28 วัน พบว่าในกลุ่มที่ได้รับยา มีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนไวรัสลดลงบ้างแต่อย่างไรก็ตามไม่ถึงกับมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่มีความหมาย
แต่เมื่อประเมินอาการของผู้ป่วยปรากฏว่ากลุ่มที่ได้รับยา จะมีอาการไอลดลง 30% และมีอาการไม่รู้กลิ่นและไม่รับรสน้อยลงในกลุ่มที่ไม่ได้รับยาถึง 50%ทั้งนี้ผลของการติดตามค่าเลือดที่บอกระดับของการอักเสบต่าง ๆ นั้นไม่แตกต่างกัน และไม่มีผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการได้ยาฆ่าพยาธิตัวนี้

ทำไมผลของการศึกษายาฆ่าพยาธิตัวนี้ ถึงได้รับความสนใจมากถึงขนาดนี้ อาจจะเป็นเพราะว่ายาฆ่าพยาธิตัวนี้ ใช้ได้ผลในโรคของการอักเสบที่ผิวหนัง ที่ใช้กลไกของการอักเสบแบบเดียวกับที่เกิดใน โควิด-19และถึงแม้ว่าการดูระดับการอักเสบในเลือดจะไม่เปลี่ยนแปลงไปก็ตาม แต่อาจจะเป็นไปได้ว่ากลไกในการปรับเปลี่ยนการอักเสบนั้นไม่ได้ตรงไปตรงมาและผ่านทาง cathelicidin LL-37 ที่เกี่ยวพันกับกลไกของวิตามินดีอีกต่อหนึ่ง

นอกจากนั้นกลไกในการยับยั้ง การเพิ่มจำนวนของไวรัสนั้น อาจไม่มีความจำเป็นที่ต้องเพิ่มระดับยาในขนาดสูงมาก เพื่อที่จะทำให้ยามีปริมาณมากพอที่จะไปสะสมที่เนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจและในปอด ทั้งนี้โดยผ่านทางการปรับเปลี่ยน nicotinic acetylcholine receptor ซึ่งจะมีผลทำให้มีตัวรับไวรัสลดลง (ACE-2 receptor) และทำให้ไวรัสเคลื่อนผ่านเข้าสู่เซลล์น้อยลงซึ่งรวมทั้งเซลล์ในโพรงจมูกที่รับกลิ่น และที่เกี่ยวข้องกับการรับรส

ผลของการศึกษานี้เปิดประตูความคิดสร้างสรรค์ ในการนำยาเก่า ยาถูกมาใช้ในโรคใหม่ซึ่ง ถึงแม้จะไม่แสดงผลตามที่หวังทุกประการก็ตาม แต่เป็นการแสดงว่า ยานี้อาจจะมีประโยชน์จริง ถ้ามีการปรับเปลี่ยนขนาดและวิธีการให้อย่างเหมาะสมและประเมินการใช้ในคนไข้จำนวนมากขึ้นและที่อาจมีอาการหลากหลายขึ้น

นี่คือการวิจัยและพัฒนา ที่เป็นจริง และเพื่อต่อยอด ไม่ใช่ทำวิจัยทั้ง ๆ ที่รู้แล้วว่า ผลจะเป็นอย่างไร


source : https://xn--l3cz3ajb3d4g.com/?p=2866

CLICK TO VERIFY: This site uses a GlobalSign SSL Certificate to secure your personal information.