ARTICLE

พาราควอต (ตอนที่ 3)

นักวิทยาศาสตร์ของบริษัทซินเจนทา ประเทศอังกฤษ ได้เปิดเผยถึงกลไกการดื้อยา หรือการ ต้านทานฤทธิ์ของพาราควอตในพืชโดยเฉพาะกลุ่มวัชพืช (Hawkes, 2013) โดยการดูดซึมพาราควอตเข้าสู่เซลล์พืชนั้นจะเกิดควบคู่ไปกับสารในกลุ่มของพอลิอามีน และกลไกการดื้อยาของพืชที่มีต่อพาราควอตนี้อาจมาจากการเปลี่ยนแปลงของเมตาบอลิซึม
รายงานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม สภาผู้แทนราษฎร นักวิทยาศาสตร์ของบริษัทซินเจนทา ประเทศอังกฤษ ได้เปิดเผยถึงกลไกการดื้อยา หรือการ ต้านทานฤทธิ์ของพาราควอตในพืชโดยเฉพาะกลุ่มวัชพืช (Hawkes, 2013) โดยการดูดซึมพาราควอตเข้าสู่เซลล์พืชนั้นจะเกิดควบคู่ไปกับสารในกลุ่มของพอลิอามีน และกลไกการดื้อยาของพืชที่มีต่อพาราควอตนี้อาจมาจากการเปลี่ยนแปลงของเมตาบอลิซึมของสารพอลิอามีน ทั้งนี้ หลักฐานส่วนใหญ่จากรายงานหลายแหล่งได้ระบุถึงการ ดื้อยาของพืชในกลุ่มหญ้าที่มีต่อพาราควอตว่ามาจากกลไกของยีนเดี่ยวที่พยายามขับพาราควอตให้ออกจากคลอโรพลาสต์ (Chloro-plast) ให้ไปอยู่ในแวคิวโอ (vacuole) ของพืช ทั้งนี้ การดื้อยาของหญ้าที่มีต่อพาราควอต ได้มีการบันทึกไว้ว่าเกิดกับหญ้า 49 ชนิด ในกลุ่มพืช 28 สปีชีส์ ที่สำรวจจาก 14 ประเทศ (Heap, 2013) ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ต้องมีการใช้สารพาราควอตในปริมาณมากขึ้นเพื่อให้กำจัดหญ้าให้ได้ผล การตกค้างในสัตว์งานวิจัยของภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบการตกค้างของพาราควอตในสิ่งมีชีวิตที่เป็นอาหาร เช่น กบหนอง ปูนา หอยกาบน้ำจืด ปลากระมัง ซึ่งเป็นการได้รับพาราควอตจากสิ่งแวดล้อม รวมทั้งอาหารแปรรูป เช่น น้ำปูหรือน้ำปู๋เช่นกัน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ตรวจพบพาราควอตในปลาจากแม่น้ำน่านเกินค่ามาตรฐาน Codex ในทุกตัวอย่างจาก 19 ตัวอย่าง ในช่วงค่า 8.50-189.25 ไมโครกรัม/กก.

การตรวจพบพาราควอตในตัวอย่างสิ่งแวด-ล้อมในประเทศไทย รายละเอียดการตรวจพบในสิ่งแวดล้อม น้ำ ผัก และสัตว์ สถานที่ น่าน พบใน ดิน 6.75-291.60 ไมโครกรัม/กก. และ ตะกอนดิน 7.95-214.60 ไมโครกรัม/กก. พบใน น้ำประปาหมู่บ้าน ในทุกตัวอย่าง (21 ตัวอย่าง) ในช่วง 0.22-4.67 ไมโครกรัม/ลิตร พบใน ผักท้องถิ่น มีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐาน Codex ในทุกตัวอย่างจาก 45 ตัวอย่าง พบใน ปลา เกินค่ามาตรฐาน Codex ในทุกตัวอย่างจาก 19 ตัวอย่าง ในช่วงค่า 8.50-189.25 ไมโครกรัม/กก. (พวงรัตน์ และคณะ, 2559) พบใน กบหนอง ปูนา ในพื้นที่เกษตร หอยกาบน้ำจืดในอ่างเก็บน้ำ และปลากระมัง ในแม่น้ำน่าน ที่ อ.เวียงสา จ.น่าน โดยในปูนา กบหนอง และปลากระมัง มีค่าเกินมาตรฐาน Codex ทุกตัวอย่าง (ศิลปชัย, 2554) (ธงชัย, รชตะ, ภาณุพงศ์, อรสา, 2555) สถานที่ ลำพูน และลำปาง หนองบัวลำภู และหลายจังหวัด ในพื้นที่การเกษตรและใน แหล่งน้ำ มากกว่า 80% ของตัวอย่างที่ตรวจวิเคราะห์ และตกค้างในดินความเข้มข้นสูงสุด 25.1 มก./กก. พบใน น้ำประปาหมู่บ้าน ในทุกตัวอย่างที่ตรวจวัดในระดับความเข้มสูง และตรวจพบใน ผักท้องถิ่น ทุกตัวอย่าง...

พบใน ผักผลไม้ ในระดับเกินมาตรฐานสูงถึง 38 ตัวอย่างจาก 76 ตัวอย่างผักผลไม้ในโมเดิร์นเทรด (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, 2560 พวงรัตน์ วรางคณา และภาสกร, 2560 Thai PAN, 2560) ผลกระทบต่อเกษตรกรหากมีการยกเลิกพาราควอต จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ครัวเรือนเกษตรที่ปลูกพืชมากกว่าครึ่งหนึ่ง 3.093 ล้านครัวเรือนไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเลย ในขณะที่ครัวเรือนที่มีการกำจัดศัตรูพืชและวัชพืชมี 2.395 ล้านครัวเรือน โดยมีการใช้สารเคมี ใช้สารธรรมชาติ ใช้ศัตรูธรรมชาติและใช้วิธีอื่น คิดเป็น 0.276, 0.088 และ 0.270 ล้านครัวเรือน ตามลำดับ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2560) สอดคล้องกับการศึกษาในระดับพื้นที่ พบว่า เกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจดังกล่าวไม่ได้ใช้พาราควอตทั้งหมด เช่น งานวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลา-นครินทร์ ที่อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ พบว่าเกษตรกรที่ใช้สารเคมี สารกำจัดวัชพืชในสวนปาล์มน้ำมันมีเพียง 26% เท่านั้น (ปุรวิชญ์ พิทยาภินันท์ และคณะ 2556) ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันมากถึง 85.8% กำจัดวัชพืชโดยการใช้เครื่องตัดหญ้า (พสุ สกุลอารีวัฒนา และกาญจนา ทองนะ, 2557) ในขณะที่งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งพบว่ามีเกษตรกรชาวสวนยางใน 8 อำเภอของจังหวัดสงขลา ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชเพียง 11.52% ส่วนอีก 71.99% ใช้เครื่องตัดหญ้า 9.68% ใช้รถไถ และ 6% ไม่มีการกำจัดวัชพืชในสวนยาง (พลากร สัตย์ซื่อ และปุรวิชญ์ พิทยาภินันท์, 2560) พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ เช่น ข้าว มีการใช้พาราควอตน้อยมาก ตัวอย่างเช่น งานวิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ ตำบลบุญทัน อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู พบว่า ในพื้นที่ปลูกข้าวมีการใช้พาราควอตเพียง 5 ลิตรต่อพื้นที่ 1,424 ไร่ หรือคิดเป็น 0.0035 ลิตร/ไร่เท่านั้น

แต่ในพื้นที่ปลูกยางพาราและอ้อย มีการใช้เฉลี่ย 0.23 และ 0.41 ลิตร/ไร่ ตามลำดับ (สมคิด ป้องมี และคณะ, 2560) และแม้มีแนวโน้มการใช้สารเคมีเพิ่มขึ้น แต่ผลผลิตทางการเกษตรต่อไร่ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาของพืชเศรษฐกิจส่วนใหญ่กลับไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่ประการใด เช่น จากการเปรียบเทียบผลผลิตต่อไร่ของพืชเศรษฐกิจสำคัญ เมื่อปี 2551 เปรียบเทียบกับปี 2559 พบว่าผลผลิตต่อไร่ส่วนใหญ่ลดลง เช่น ผลผลิตยางพาราลดลงจาก 241 กิโลกรัมต่อไร่ เหลือ 224 กิโลกรัมต่อไร่ อ้อยลดลงจาก 11,157 กิโลกรัมต่อไร่ เหลือ 9,152 กิโลกรัมต่อไร่ ปาล์มน้ำมันจาก 3,214 กิโลกรัมต่อไร่ เหลือ 2,409 กิโลกรัมต่อไร่ ยกเว้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เท่านั้นที่ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 652 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 654 กิโลกรัมต่อไร่ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และสำนักงานสถิติแห่งชาติ) ข้อเสนอการควบคุมพาราควอต 1.ยกเลิกพาราควอต ให้มีการยกเลิกการใช้โดยประกาศให้พาราควอตเป็นวัตถุอันตรายที่ 4 ตามข้อเสนอของกระทรวงสาธารณสุข โดยจากการประมวลข้างต้น จากงานศึกษาวิจัยที่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์รองรับ (scientific base) ในประเด็นพิษเฉียบพลันสูง ก่อโรคพาร์กินสัน มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์หนักแน่นสนับสนุนให้มีการยกเลิกการใช้พาราควอต เช่นเดียวกับ 53 ประเทศที่ได้ห้ามใช้และอยู่ระหว่างกระบวนการห้ามใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชนี้แล้ว นอกเหนือจากนี้ยังมีหลักฐานเพียงพอภายใต้หลักป้องกันเอาไว้ก่อน (precau-tion approach) ซึ่งเป็น หลักการข้อที่ 15 ที่ได้รับการรับรองภายใต้คำประกาศขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน (The Rio Declara-tion from the UN Conference on En-vironment and Development : Principle 15) และการปกป้องสิทธิเด็กตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขององค์การสประชาชาติ มาตราที่ 24 ให้เด็กได้รับการคุ้มครองภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย สนับสนุนการยกเลิกการใช้เพราะผลจากการศึกษาการตกค้างของพาราควอต ในทารกและในสิ่งแวดล้อม ประกอบกับไม่สามารถจัดการความเสี่ยงได้โดยวิธีการปกติ ในกรณีนี้สามารถพิจารณายกเลิกการใช้ได้ (FAO the Code of Conduct, in Article 7.5) 2.พัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมทดแทนพาราควอต แม้เกษตรกรที่ปลูกพืชส่วนใหญ่จะไม่ได้ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชทั้งหมด แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการนำงานวิจัยที่พบว่ามีทางเลือกในการควบคุมวัชพืช เพื่อนำมาส่งเสริมให้แก่ เกษตรกรกลุ่มที่ยังมีการใช้พาราควอต โดยทางเลือกแรกควรเป็นทางเลือกที่ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตไปสู่การเกษตรแบบผสมผสานตามนโยบายของรัฐบาล หรือหากไม่สามารถทำได้ก็สามารถใช้วิธีการกำจัดวัชพืชที่ไม่ต้องใช้สารเคมีก่อน ทั้งยังเป็นการรับมือกับแนวโน้มที่ในตลาดต่างประเทศมีมาตรฐานของผู้ประกอบการและกลุ่มสิ่งแวดล้อมที่ไม่ยอมรับการใช้พาราควอต เช่น RSPO NEXT (Roundtable for Sustainable Palm Oil), UTZ and Rainforest Alliance, CCCC (The common Code for the Coffee Community) และ FLO (Fairtrade Labeling Organization) เป็นต้น และมีแนวโน้มจะขยายไปยังสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีอันตรายร้ายแรงอื่น

ในกรณีจำเป็นเท่านั้นจึงแนะนำให้เกษตรกรเลือกทางเลือกการใช้สารเคมีอื่นเพื่อทดแทน เพราะถึงแม้ขณะนี้สารเคมีทางเลือกดังกล่าวอาจยังไม่มีข้อมูลที่พบว่ามีอันตราย แต่ในระยะยาวเมื่อมีข้อมูลและงานวิจัยมากเพียงพอ สารเคมีเหล่านั้นอาจเป็นอันตรายในระดับที่ต้องยกเลิกการใช้เช่นเดียวกับพาราควอตก็เป็นไปได้. หมอดื้อ
CLICK TO VERIFY: This site uses a GlobalSign SSL Certificate to secure your personal information.