ARTICLE

การวิจัยและพัฒนา.. "โรคอุบัติใหม่" (ตอนที่ 1)

“การวิจัย” และ “พัฒนา” ไปข้างหน้า ที่สำคัญต้องทราบที่มาว่ามีการศึกษาอะไรมาก่อน และไม่ทำซ้ำ การประเมินโรคใดโรคหนึ่ง เช่น โควิด-19 ต้องพิจารณาประกอบทั้งตัวเชื้อ ตัวคน ปัจจัยส่งเสริมที่เอื้ออำนวยให้มีการแพร่กระจาย และทำให้เกิดความรุนแรงมากกว่าธรรมดา ไม่ใช่ดูแต่สายพันธุ์อย่างเดียว เช่น ผู้ชายมีความเสี่ยงการติดเชื้อและเกิดความรุนแรงมากกว่าผู้หญิงที่ยังมีประจำเดือนอันเกี่ยวเนื่องกับฮอร์โมน ผู้ที่มีความผิดปกติทางสมองจะเป็นสมองเสื่อมหรือเป็นสมองเสื่อมแล้วเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายกว่าและอาการรุนแรงกว่าและเมื่อหายแล้วภาวะสมองเสื่อมจะเลวร้ายลงมากผู้ที่มีความผิดปกติทางหัวใจ และพบมี soluble ACE2 มากจะสุ่มเสี่ยงสูงกว่า

“การวิจัย” และ “พัฒนา” ไปข้างหน้า ที่สำคัญต้องทราบที่มาว่ามีการศึกษาอะไรมาก่อน และไม่ทำซ้ำ

 

การประเมินโรคใดโรคหนึ่ง เช่น โควิด-19 ต้องพิจารณาประกอบทั้งตัวเชื้อ ตัวคน ปัจจัยส่งเสริมที่เอื้ออำนวยให้มีการแพร่กระจาย และทำให้เกิดความรุนแรงมากกว่าธรรมดา ไม่ใช่ดูแต่สายพันธุ์อย่างเดียว

เช่น ผู้ชายมีความเสี่ยงการติดเชื้อและเกิดความรุนแรงมากกว่าผู้หญิงที่ยังมีประจำเดือนอันเกี่ยวเนื่องกับฮอร์โมน ผู้ที่มีความผิดปกติทางสมองจะเป็นสมองเสื่อมหรือเป็นสมองเสื่อมแล้วเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายกว่าและอาการรุนแรงกว่าและเมื่อหายแล้วภาวะสมองเสื่อมจะเลวร้ายลงมากผู้ที่มีความผิดปกติทางหัวใจ และพบมี soluble ACE2 มากจะสุ่มเสี่ยงสูงกว่า

 

ในด้านตัวเชื้อโคโรนาไวรัสมีวิวัฒนาการมาเนิ่น นานด้วยการผันแปรของรหัสพันธุกรรมแต่ละท่อน ซึ่งมีหน้าที่จำเพาะในการเกาะติดที่เซลล์ในการกดการต่อสู้ของร่างกายเพื่อเอื้ออำนวยให้ไวรัสสามารถอยู่ได้ในเซลล์และเพิ่มปริมาณได้ ในขณะเดียวกันเข้าไปควบคุมเซลล์เจ้าบ้านให้เอื้ออำนวยพลังงานให้กับไวรัสโดยไม่สามารถขจัดไวรัสออกจากเซลล์ได้ (incomplete autophagy) และในขณะเดียวกันรบกวนการใช้พลังงานในเซลล์จนกระทั่งเกิดภาวะพลังงานล้มเหลว (bioenergetic failure)

นอกจากนั้นมีการเพิ่มประสิทธิภาพในการเพิ่มจำนวนโดยผ่านทางเอนไซม์ และที่สำคัญก็คือมีท่อนรหัสพันธุกรรมที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างการอักเสบที่รุนแรงเกินควร ผ่านระบบ innate และโยงใยไปถึงการที่มีเลือดข้น เส้นเลือดตัน เส้นเลือดอักเสบ อวัยวะหลายส่วนเสียหาย

ส่วนสำคัญที่ไม่สามารถอธิบายจากรหัสพันธุกรรมของไวรัสเท่านั้นเป็นกลไกเหนือยีน (epigenetics) และเป็นตัวกำหนดตำแหน่งแห่งที่ ที่ไวรัสสามารถอยู่ได้โดยบรรพบุรุษของโคโรนาจะอยู่ในลำไส้ และค่อยๆปรับเปลี่ยนมาอยู่ในระบบทางเดินหายใจจนกระทั่งถึงถุงลมและพัฒนาเข้าเลือดรวมกระทั่งถึงเม็ดเลือดขาว ทั้งนี้เป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สู้กับระบบปกป้องไวรัสของร่างกายของเนื้อเยื่อนั้นๆ คือ ZAP หรือ Zinc finger antiviral protein และ APOBEC3G ที่มีประสิทธิภาพมากในปอด เม็ดเลือดขาว

นอกจากนั้นถ้ามีการผันแปรของรหัสพันธุกรรม และจะโยงใยไปกับการแพร่การเพิ่มจำนวน ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า การผันแปรนั้นส่งผลถึงเซลล์ ที่ติดเชื้อ และมีผลต่อกลไกต่อสู้ของร่างกาย ที่เรียกว่า functional mutation

การวิจัยและพัฒนาไปข้าง หน้าเกี่ยวกับการวิวัฒนาการของโคโรนาไวรัส

 

1-ทราบกันมาตั้งแต่ปี 2004 จากนักวิทยาศาสตร์ประเทศจีนที่ทำการสำรวจค้างคาว ในบริเวณเดียวกับที่มีการระบาดของซาร์ส พบว่าในตัวค้างคาวมีโคโรนาไวรัส ที่ไม่ใช่ซาร์ส อยู่มากกว่าหนึ่งชนิดในตัวเดียวกันและแสดงว่าโอกาสที่จะมีการ recombination มีสูงมาก

2-การสำรวจ 70 แห่ง ในตอนใต้ของเวียดนาม พบโคโรนาไวรัส ที่ไม่ใช่โควิด-19 ใน 58 แห่ง ที่ขายหนูเป็นอาหาร ทั้ง 24 แห่ง ที่เลี้ยงสัตว์ป่าประเภทสัตว์ฟันแทะ 17 ใน 28 แห่ง และ 16 ใน 17 แห่ง ที่มีค้างคาวและเก็บมูลมาทำปุ๋ย

แม้จะไม่ใช่ โควิด-19 แต่ไวรัสที่พบอยู่ในกลุ่มโคโรนาไวรัสจากค้างคาว และตอกย้ำการที่ต้องห้ามซื้อขาย เลี้ยง สัตว์ป่า ฆ่า ชำแหละ กิน ที่จะเป็นผลให้มีโอกาสสัมผัสและติดเชื้อไวรัสจากการประพฤติปฏิบัติเช่นนี้ รายงานในวารสาร Plos ONE 2020

3-รายงานจากการศึกษาค้างคาวมงกุฎ ในประเทศจีน (ในวารสาร current Biology) ระหว่างเดือน พ.ค.-ต.ค.2019 พบไวรัสในลักษณะใกล้เคียงมากกับ covid-19 คือ RmYN02 ที่ได้จากการสำรวจค้างคาว 227 ตัว ในพื้นที่ southwestern Chinese province of Yunnan โดยที่มีกรดอะมิโนที่ junction of its spike protein’s subunits เหมือน แต่ไม่ตรงกันทีเดียวกับโควิด-19 และเป็นหลักฐานการวิวัฒนาการตามธรรมชาติมากกว่าที่เกิดจากมนุษย์ทำ แต่ไวรัสที่เจอในค้างคาวมงกุฎนี้ไม่ได้ทำให้เกิดโรคร้ายแรงดังโควิด-19 โดยที่ไม่มีส่วนที่จับเกาะติดกับเซลล์มนุษย์

 

4-หลักฐานชิ้นแรกที่เชื่อมโยงการผันแปรของรหัสพันธุกรรมเข้ากับการปรับตัวให้เก่งขึ้นของไวรัส

จากการทดสอบในหลอดทดลองโดยพบว่าไวรัสเจริญเติบโตเพิ่มพูนจำนวนได้มากกว่าเดิมหลาย 100 เท่ารวมทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เห็นในสภาพเซลล์ได้ชัดเจนและกว้างขวางขึ้น จากการที่มีการผันแปรจำเพาะของรหัสพันธุกรรม

รายงานที่ผ่านมาของการผันแปรของรหัสพันธุกรรมในตำแหน่งต่างๆ จะเทียบเคียงกับเวลาและพื้นที่ที่เกิดโรคและที่มีข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ไวรัสในขณะนั้น และตั้งสมมติฐานว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ว่าจะวิเคราะห์จาก polymorphism หรือจากสายวิวัฒนาการเป็นสาย หรือ line-age A B C “น่าจะ” กำหนดความรุนแรงที่เห็นในผู้ที่ติดเชื้อ

รายงานชิ้นนี้เป็นการระบุการผันแปรของรหัสพันธุกรรม เพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 33 ตำแหน่ง จากไวรัสที่ได้จากผู้ป่วย 11 ราย และเป็นการทดสอบ functional mutation จริงๆ ไม่ใช่พิเคราะห์จากที่เรียกว่าสายพันธุ์ ตามเวลาและภูมิศาสตร์ อย่างไรก็ตามการดูในหลอดทดลอง กับความรุนแรงในคนเป็นอีกเรื่อง เพราะเกี่ยวกับ กระบวนการจำเพาะของเนื้อเยื่อของอวัยวะนั้นๆ

และการตอบสนองโดยรวมของผู้ที่ติดเชื้อ ลักษณะประจำตัวของคนป่วยและการรักษา

5-การศึกษากระบวนการเข้าเซลล์ และการใช้ตัวรับแบบต่างๆ มีมาตรฐานรูปแบบทั้งในโคโรนาไวรัสและโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2020 และต่อเนื่องหลังจากนั้นจนกระทั่งถึงปัจจุบันในเดือนตุลาคม 2020.

หมอดื้อ


source : https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1960811

CLICK TO VERIFY: This site uses a GlobalSign SSL Certificate to secure your personal information.