ARTICLE

ถั่วเหลือง เต้าหู้… หัวใจและสมอง (ตอนที่ 1)

คนไทยและคนในทวีปเอเชียต่างมีวิถีชีวิตและการดำเนินชีวิตการอยู่ด้วยกันในสังคม และวิถีทางศาสนา รวมกระทั่งถึงการช่วยส่งเสริมสุขภาพของตนเองด้วยวิธีธรรมชาติ การกินอาหารและสมุนไพรต่างๆ และสามารถพิสูจน์คุณค่าจากการที่บรรพบุรุษจนกระทั่งถึงปัจจุบันยังคงมีชีวิตหล่อหลอมร่างกายและจิตใจเป็นหนึ่ง
Sคนไทยและคนในทวีปเอเชียต่างมีวิถีชีวิตและการดำเนินชีวิ

รวมกระทั่งถึงการช่วยส่งเสริมสุขภาพของตนเองด้วยวิธีธรรมชาติ การกินอาหารและสมุนไพรต่างๆ และสามารถพิสูจน์คุณค่าจากการที่บรรพบุรุษจนกระทั่งถึงปัจจุบันยังคงมีชีวิตหล่อหลอมร่างกายและจิตใจเป็นหนึ่ง

 

ลักษณะแบบแผนดังกล่าวเริ่มรวนเร เมื่อวิธีคิดแบบตะวันตกเข้ามามีบทบาทและรวมกระทั่งถึงการกำหนดประเภทชนิด ส่วนประกอบของโภชนาการ โดยเน้นการที่จะต้องมีการพิสูจน์ด้วยหลักฐานจากการทดลองในจำนวนประชากรหมู่มาก ว่าจะได้ประโยชน์หรือไม่

แต่กระบวนการดังกล่าว ยังไม่สามารถชี้ชัดได้ ทั้งนี้เนื่องจากข้อสรุปยึดอิงตามประโยชน์ที่จะได้รับในบริบทเดียว เช่นเมื่อบริโภคอาหารประเภทใดผลของระดับไขมันชนิดต่างๆจะออกมาเป็นอย่างใด โดยอาจไม่ได้พิจารณาถึงตัวแปรอื่นๆที่สำคัญ นอกจากไขมันที่จะทำให้เกิดเส้นเลือดตันเกิดโรคหัวใจหรืออัมพฤกษ์ และประชากรที่นำมาศึกษาแม้จะเป็นจำนวนมากก็ตามและพยายามตัดตัวแปรต่างๆออก ก็ยังไม่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นเหตุและผลในสิ่งที่ศึกษาได้อย่างถูกต้องเสมอไป

 

ในเรื่องของเต้าหู้และถั่วเหลืองในประเทศสหรัฐฯเองสำนักงาน อย.ได้พยายามที่จะสรุปว่าอาหารใด ชนิดใด ถึงจะดีกับสุขภาพและป้องกันโรค ตั้งแต่ปี 1990 และในปี 1999 ได้คล้อยตามว่าโปรตีนจากถั่วเหลืองมีประโยชน์และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจ โดยให้สามารถเคลมได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่มีโปรตีนถั่วเหลือง 25 กรัมต่อวันเมื่อบริโภคร่วมกับอาหารที่คอเลสเทอรอลและไขมันอิ่มตัวต่ำ สามารถลดความเสี่ยงของโรคหัวใจได้

ต่อมาในปี 2007 อย.สหรัฐฯได้ประกาศว่าจะทำการประเมินข้อมูลหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใหม่และในปี 2017 ได้ประกาศยกเลิกการให้เคลม ถึงประโยชน์ดังกล่าวของถั่วเหลืองในปี 2018

ในปี 2019 รายงานการศึกษาในวารสารสมาคมโรคหัวใจของอเมริกา ได้ทำการวิเคราะห์หลักฐานทั้งหมดใหม่และโต้แย้งที่ อย.สหรัฐฯจะประกาศไม่รับรองประโยชน์ของถั่วเหลือง ทั้งนี้ ผลของระดับไขมันเลวยังคงลดลง เมื่อบริโภคถั่วเหลือง ควบรวมเข้าไปด้วย โดยผลดังกล่าวสอดคล้องกับผลที่ได้ทั้งก่อนปี 1999 และหลังจากนั้น

การศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสารหลอดเลือด 23 มีนาคม 2020 ผู้ศึกษา นำโดยคุณหมอ Sun จาก Brigham and Woman’s Hospital and Harvard Medical School, Boston ได้ทำการวิเคราะห์ผลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างใน Nurses’ Health Study ทั้งหนึ่ง และสอง และที่ได้จาก Health Professionals Follow-up Study (HPFS)

 

ผู้วิจัยได้ให้สัมภาษณ์ โดยตอกย้ำถึงความสำคัญของการที่จะป้องกันโรคไม่ให้เกิดขึ้น ทั้งนี้โดยเน้นโภชนาการ ที่น่าจะต้องเน้น พืชผักธัญญาหารสุขภาพ เช่นเต้าหู้และผลิตภัณฑ์ที่มาจากถั่วเหลือง เป็นต้น โดยการที่โภชนาการเหล่านี้มีส่วนประกอบที่เป็น Isoflavones และจะลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจ ร่วมกับการที่ต้องหยุดสูบบุหรี่เด็ดขาด และใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ (เอกสารไม่ได้ระบุว่าชีวิตอย่างมีคุณภาพจะต้องประกอบด้วยอะไร แต่เข้าใจว่าเราคงรู้กัน)

จุดสำคัญที่ทุกคนคงเห็นด้วยกับผลการศึกษานี้ก็คือ การที่ต้องเปลี่ยนอาหารที่ยึดผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ มาเป็นที่ได้จากพืช ไม่ว่าจะในรูปแบบของมังสวิรัติหรือเข้าใกล้โดยมีปลาร่วมด้วย และประกบด้วยโปรตีนที่ได้จากถั่วเหลือง

การศึกษาที่พูดถึงนี้ประกอบด้วยการติดตามสตรีจำนวน 74,241 รายในช่วงปี 1984 ถึงปี 2012 และจำนวน 94,233 ราย ในช่วงปี 1991 ถึงปี 2013 จากโครงการ NHS 1 และ 2 ตามลำดับ และบุรุษจำนวน 42,226 รายในช่วงปี 1986 ถึงปี 2012 จากโครงการ HPFS

โดยทุกคนไม่ได้มีโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดและมะเร็งตั้งแต่เริ่มต้น และทุกรายจะมีการบันทึกการรับประทานอาหารประเภทและชนิดต่างๆทุกสองถึงสี่ปี

 

จากบันทึกประเภทชนิดของอาหารดังกล่าว นำมาซึ่งดัชนีการบริโภคแบบสุขภาพ ซึ่งควบรวมอาหารหรือส่วนประกอบของอาหาร 11 ชนิด อันได้แก่ผัก ผลไม้ เมล็ดธัญพืช รวมเครื่องดื่มหวาน น้ำตาล และน้ำผลไม้ จนกระทั่งไปถึงถั่วชนิดต่างๆ เนื้อแดง เนื้อที่ผ่านกระบวนการ ไขมันทรานส์ กรดไขมันสายยาว (n3 long chain fatty acids) ไขมันไม่อิ่มตัว ปริมาณเกลือโซเดียมและแอลกอฮอล์

และมีการติดตามลักษณะ การดำเนินชีวิต ทั้งน้ำหนัก การออกกำลัง โรคประจำตัว การใช้ยา รวมกระทั่งถึงอาหารเสริม ภาวะก่อนหรือหลังหมดระดู ประจำเดือน การใช้ฮอร์โมนเสริมหลังหมดประจำเดือน ประวัติตนเองและครอบครัวเกี่ยวกับโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ภาวะเบาหวาน ความดันและไขมันสูงผิดปกติ

ในช่วงของการศึกษาติดตาม ปรากฏว่ามีเหตุของเส้นเลือดหัวใจตัน ที่ไม่ทำให้เสียชีวิตหรือถึงแก่เสียชีวิตเป็นจำนวน 8,359 ครั้ง ใน 4,826,122 personyears และในช่วงกึ่งกลางของการติดตาม จะมี 24.1% ของจำนวนที่ศึกษา บริโภคเต้าหู้มากกว่าหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์.

 

 
 
 
 
 
 

 


source : https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/health/2002119?fbclid=IwAR3weqZMmZGOFG3N9-kzan0DEWTDVv8hyls1t21ft6nEde0Mlg_ngVtIERg

CLICK TO VERIFY: This site uses a GlobalSign SSL Certificate to secure your personal information.