การวิจัยและพัฒนา.. "โรคอุบัติใหม่" (ตอนที่ 2)
การวิจัยและพัฒนาไปข้างหน้า ที่สำคัญต้องทราบที่มาว่ามีการศึกษาอะไรมาก่อน และไม่ทำซ้ำการวิจัยและพัฒนาไปข้างหน้าเกี่ยวกับการแพร่กระจายไวรัสข้ามสายพันธุ์ในสิ่งมีชีวิตจากค้างคาวด้วยกันเอง จาก species หนึ่ง ไปยังคนละชนิด ลงมายังสัตว์บกเข้ามนุษย์ และจากมนุษย์กลับเข้าสู่สัตว์บกและเริ่มมีหลักฐานกลับเข้าสู่ค้างคาว เป็นเรื่องปกติของกำเนิดโรคอุบัติใหม่จากสัตว์สู่คน ทั้งนี้ เป็นที่ศึกษากันดีในไวรัสอาร์เอ็นเอ ตระกูล lyssavirus ถึงความสามารถที่ไวรัสจากค้างคาวจะลงไปยังสัตว์บกได้แตกต่างกัน เช่น red fox skunk raccoon เป็นต้น ในไวรัส genotype 1การวิจัยและพัฒนาไปข้างหน้า ที่สำคัญต้องทราบที่มาว่ามีการศึกษาอะไรมาก่อน และไม่ทำซ้ำการวิจัยและพัฒนาไปข้างหน้าเกี่ยวกับการแพร่กระจายไวรัสข้ามสายพันธุ์ในสิ่งมีชีวิตจากค้างคาวด้วยกันเอง จาก species หนึ่ง ไปยังคนละชนิด ลงมายังสัตว์บกเข้ามนุษย์ และจากมนุษย์กลับเข้าสู่สัตว์บกและเริ่มมีหลักฐานกลับเข้าสู่ค้างคาว
เป็นเรื่องปกติของกำเนิดโรคอุบัติใหม่จากสัตว์สู่คน ทั้งนี้ เป็นที่ศึกษากันดีในไวรัสอาร์เอ็นเอ ตระกูล lyssavirus ถึงความสามารถที่ไวรัสจากค้างคาวจะลงไปยังสัตว์บกได้แตกต่างกัน เช่น red fox skunk raccoon เป็นต้น ในไวรัส genotype 1
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ co evolution ของไวรัสจากค้างคาว และสัตว์อีกชนิดที่จำเพาะ
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโคโรนาไวรัส ที่จะพิสูจน์ว่า สามารถเข้าไปตั้งตัวในสัตว์อีกชนิดหนึ่งได้นั้น ในโควิด-19 สามารถที่จะเข้าร่างกายของแมว เสือ จากมนุษย์ที่ติดเชื้อและจากนั้นมีการแพร่กระจายในพวกเดียวกัน
สำหรับสุนัขนั้นมีหลักฐานชัดเจนว่าสามารถรับเชื้อและเกิดโรคได้แต่ไม่บ่อยเท่าแมวและตัวมิ้งค์ และอาการรุนแรงน้อยกว่าหรือไม่มีอาการเลย ยกเว้นสุนัขอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไปที่มีรายงานว่าเกิดโรครุนแรงได้
อย่างไรก็ตาม ถึงปัจจุบันยังไม่มีรายงานชัดเจนว่าสัตว์เลี้ยงเหล่านี้จะนำโรค กลับไปยังมนุษย์ได้มากน้อยเพียงใด แต่เป็นไปได้แน่นอน
สำหรับการศึกษาไวรัสโคโรนาที่เรียกว่า novel coronavirus ว่าจะเข้ามนุษย์และเกิดโรคได้หรือไม่? ไม่สามารถตอบได้จากการที่ไวรัสสามารถเกาะติดกับตัวรับ receptor เท่านั้น แต่ต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่าไวรัสนั้นสามารถตั้งต้นกระบวนการ transcription translation และ replication ได้ เช่น การพิสูจน์ว่าในเซลล์มีการสร้าง subgenomic RNA ของยีนต่างๆ
และกระบวนการในการทำให้เกิดโรคได้ต้องสามารถแสดงให้เห็นได้ว่ามี Up หรือ Down regulation ของยีนในเซลล์นั้นๆ และมีส่วนเกี่ยวพันกระทบกับการควบคุมการทำหน้าที่หรือการทำงานของเซลล์ รวมทั้งระบบในการป้องกันภัยของเซลล์ว่าถูกยับยั้งหรือถูกกระตุ้นให้ทำงานมากเกินไปในระยะหลัง จึงจะสามารถอธิบายความเสี่ยงของไวรัสที่ยังไม่ทราบชื่อว่าสามารถที่จะติดเชื้อในมนุษย์และสามารถก่อโรคในมนุษย์ได้หรือไม่
กล่าวโดยสรุป
แบบแผนการวิวัฒนาการของไวรัสในตระกูลโคโรนาเป็นที่ทราบและถึงกับมีการทำนายทางวิชาการมานานรวมกระทั่งถึงการพิสูจน์ว่าเกิดขึ้นจริงแล้วในไวรัสโควิด-19 และพิสูจน์ไวรัสที่เป็นปฐมบท ก่อนที่จะเป็นโควิด-19 สิ่งที่อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการผสมควบรวมเกิดเป็นตัวใหม่ที่ไม่ใช่โควิด-19 เดิม และเกิดโรคทั้งในสัตว์และในคนใหม่
มาตรการที่ควรทำเลยโดยไม่ต้องทำวิจัยอีกครอบคลุมทั้งโควิด-19 และโคโรนาไวรัสตัวอื่น
1– เพื่อหาว่าคนหรือสัตว์เช่นสัตว์เลี้ยง มีการติดโควิด-19 หรือไม่? (ซึ่งสามารถกระทำได้เลยโดยไม่ต้องมีการวิจัยอีก) แต่ในทางปฏิบัติจริงเมื่อทราบแล้วจะปฏิบัติอย่างไรต่อ?
คือการตรวจเลือดซึ่งต้องตรวจด้วยวิธีมาตรฐานดังที่ห้องปฏิบัติการโรคอุบัติใหม่สภากาชาดไทยใช้อยู่ และพิสูจน์แล้วว่ามีความไว 100% และความจำเพาะ 100% จากการตรวจสอบในผู้ป่วย 2313 รายจนกระทั่งถึงต้นเดือนตุลาคมและจากการตรวจสอบในผู้ป่วยที่รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลและมีการตรวจเป็นระยะติดตามหลัง
จากนั้นทั้งนี้การตรวจดังกล่าวสามารถตรวจได้ทั้งในคนและในสัตว์โดยไม่มีผลบวกต่อไวรัสโคโรนาอื่นๆที่ไม่ใช่โควิด–19
2– มาตรการที่ต้องทำต่อ จากที่พบว่ามีการติดเชื้อโควิด-19 ในสัตว์เลี้ยงแล้ว คือการตรวจว่ามีการปล่อยเชื้อออกมาหรือไม่ เหมือนกับที่ปฏิบัติในคนทุกประการ
ทั้งนี้ ในสัตว์เลี้ยงก็จะเป็นชนิดที่ไม่แสดงอาการแต่ปล่อยเชื้อได้ ซึ่งจะเป็นมาตรการปฏิบัติทางสัตวแพทย์และกรมปศุสัตว์ สถาบันสุขภาพสัตว์ของประเทศ
3– มาตรการในการป้องกันการนำเชื้อโควิด-19 และเชื้อโคโรนาอื่นๆ ทั้งที่ทราบชื่อแล้วและไม่ทราบชื่อที่ติดในคนไม่ให้แพร่กลับไปที่สัตว์
มาตรการที่สำคัญอันดับแรกคือสัตว์ป่าโดยเฉพาะค้างคาว ทั้งนี้โดยที่การเข้าไปยังถ้ำค้างคาว คนที่เข้าไปต้องมีเครื่องป้องกันไม่ให้เชื้อจากมนุษย์แพร่กลับไปที่สัตว์ ไม่ว่าคนนั้นจะมีอาการหรือไม่มีอาการก็ตาม
โดยอนุมานว่าอาจมีเชื้อโคโรนาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ในตัวอยู่แล้ว และเริ่มมีหลักฐานแล้วว่าเชื้อโคโรนาประจำถิ่นในคนกลับเข้าไปในค้างคาวได้
ที่ต้องให้ความสำคัญกับค้างคาวเป็นอันดับหนึ่งเพราะเป็นสัตว์ชนิดเดียวที่มีความสามารถในการเพาะบ่มไวรัสอาร์เอ็นเอได้ทุกตระกูลและสามารถสร้างไวรัสใหม่ที่มีความสามารถในการแพร่กระจายข้ามสายพันธุ์และในที่สุดไปถึงมนุษย์
สำหรับสัตว์เลี้ยงอื่นนั้นในทางปฏิบัติเช่น สุนัขและแมว การขัดขวางวงจรการติดเชื้อจากคนไปสู่สัตว์หรือสัตว์มาสู่คนนั้น นอกจากโควิด-19 ดังที่ได้กล่าวในข้อหนึ่งและข้อสอง สามารถกระทำได้โดยมีวิธีการตรวจหาแอนติบอดีต่อไวรัสโคโรนาอื่นๆ ทั้งหมดที่เป็นไวรัสประจำหมาและแมวและที่เป็นไวรัสประจำของคน
แต่ในทางปฏิบัติที่จะต้องมีการตรวจสุนัขและแมวทุกตัวและตรวจเจ้าของทุกรายว่ามีการติดเชื้อและสามารถปล่อยเชื้อได้หรือไม่แทบจะเป็นไปไม่ได้
ดังนั้น การตรวจตราสุนัขและแมวและคนที่ติดเชื้อทั้งที่มีอาการหนักหรือไม่หนักก็ตามจนกระทั่งถึงเสียชีวิตจำเป็นต้องได้คำตอบว่าที่ติดเชื้อนั้นติดเชื้อจากไวรัสชื่ออะไร ไม่ใช่โควิด-19 อย่างเดียวที่ทราบอยู่แล้วว่าต้องมีอยู่แล้ว
ในกรณีของ “สุนัข” และ “แมว” ที่ติดเชื้อ “โควิด–19” คงไม่ใช่เรื่องใหม่หรือเป็นเรื่องผิดปกติ แต่อยู่ที่จะทำอะไรต่อเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่มาสู่คน
และที่สำคัญกว่านั้นคือ การที่ต้องพัฒนาการวินิจฉัยโรคติดเชื้อให้ได้ทราบชื่อทั้งในคนและในสัตว์ หรือจะเรียกว่า Disease X ทั้งนี้โดยที่ต้องตระหนักว่าโรคติดเชื้อในมนุษย์เองนั้นยังทราบได้เพียงไม่เกิน 50% เท่านั้น และเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจมีการระบาดของโรคอุบัติใหม่ในอนาคตลุกลามขึ้นทั้งนี้โดยมีการเพาะบ่มอยู่อย่างเงียบๆ แต่ไม่ลุกลามกระจายไปอยู่แล้วก็ได้.
หมอดื้อ