TRC-EID

NEWS

เชื้อโควิด หลบยาต้านฯ !!? หมอธีระวัฒน์ เผยมี 3 ลักษณะอาการ

หมอธีระวัฒน์ เผยมีข้อมูลวิเคราะห์ กรณีผู้ป่วยโควิด กินยาต้านไวรัสแล้ว กลับมาเป็นใหม่ หรือ rebound ซึ่งสาเหตุ จะเกิดจากเชื้อโควิด หลบยาต้านฯ จริงหรือไม่อย่างไร ? และกรณีศึกษานี้ ได้ใช้ยาต้านทั้ง 2 ชนิดนี้ “ยาโมนูลพิราเวียร์” (Molnupiravir) และ “ยาแพกซ์โลวิด” (Paxlovid) ยาต้านชนิดไหน.. ดีกว่ากัน และจะป่วยซ้ำหนักแค่ไหน มีข้อมูลมาแนะนำ

ชี้เป้าตรวจ ’’’’โรคฝีดาษลิง’’’’ คณะแพทย์จุฬาฯแจ้งผลใน 24 ชม.

วันนี้ ( 7 ส.ค. 65 ) ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดบริการตรวจหาเชื้อฝีดาษลิง ด้วยวิธี Realtime PCR / Conventional PCR and Sequencing โดยเปิดทำการตรวจในเวลา 08.30 -17.00 น. ที่ห้อง 912 อาคาร อปร.ชั้น 9 พร้อมแจ้งผลภายใน 24 ชั่วโมง

"หมอธีระวัฒน์"เผย ประเทศล่าสุด ประกาศ ฝีดาษลิง เป็นวิกฤตทางสาธารณสุขแล้ว

นอกจากนั้น นักวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่นได้ทำการประเมินเบื้องต้นแล้วว่า ยาทั้ง 3 ตัวที่ใช้ในมนุษย์อยู่แล้ว Atovaquone ใช้รักษามาลาเรีย และปาราสิต Mefloquine รักษามาลาเรีย และ Molnupiravir รักษา โควิด มีคุณสมบัติในการต้านไวรัสฝีดาษวานร และน่าจะมีศักยภาพในการใช้เป็นการรักษาได้ ย้ำ ยายังไม่ได้รับรองในการใชัในฝีดาษลิง แต่ควรต้องมีการศึกษาต่ออย่างด่วน

เบาะแสรักษาโรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน เป็นโรคสมองเสื่อมแบบหนึ่งจะเรียกว่าเป็นโรคพี่ โรคน้องกับอัลไซเมอร์ก็ว่าได้ ถึงแม้ว่าอาการจะไม่เหมือนกัน โดยที่ในโรคพาร์กินสันนั้น เป็นเรื่องของการเคลื่อนไหวฝืด แข็ง จะมีสั่นมากหรือสั่นน้อยก็ได้

สมองเสื่อม ต้องสู้ต่อมีทางแล้ว

ทำไมว่าหนักสาหัส เพราะประชากรไทยเข้าสู่ยุคสูงวัย มีสัดส่วนที่น่ากังวล และคำว่าสูงวัยในปัจจุบันอาจจะใช้อายุตามวัน เดือน ปีเกิดไม่ได้ เพราะสมองของแต่ละคนมีต้นทุนต่างกัน นั่นคือถูกกำหนดจากชะตาชีวิตหรือยีนส่วนหนึ่ง แต่มีตัวที่ทำให้ต้นทุนหายกำไรหด จากโรคนานาชนิด อ้วนลงพุง ขาดการออกกำลัง เบาหวาน ความดัน ไขมัน ส่งผลไปถึงความบกพร่องไม่สมบูรณ์ของระบบเส้นเลือดและหัวใจ

"หมอธีระวัฒน์" เผยประเด็นสำคัญของ "ฝีดาษลิง" ที่ต้องเริ่มระวัง

วันที่ 3 ส.ค.65 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ระบุข้อความว่า ...

หมอธีระวัฒน์เผยโรคฝีดาษลิง แพร่เชื้อทางตรง “จูบ เลีย อม ไอ จาม”

หมอธีระวัฒน์ระบุว่า โรคฝีดาษลิงนั้นมีทั้งการแพร่คล้ายแบบโควิด แต่ “ยากกว่ามาก ๆ” และการแพร่แบบโรคทางเพศสัมพันธ์

หมอธีระวัฒน์ เผย สาเหตุ ความเหนื่อยล้าเพลียง่ายหลังโควิด ลึกกว่าที่รู้สึก

หมอธีระวัฒน์ เหมะจุฑา เผย สาเหตุ ความเหนื่อยล้าเพลียง่ายหลังโควิด อาจเกิดจากการนอนผิดปกติ นอนไม่หลับ และในร่างกายยังมีการอักเสบอยู่และไปกระทบสมอง อาจทำให้หลงลืม เลื่อนลอย อารมณ์เปลี่ยน

หมอธีระวัฒน์ แชร์บทเรียนติดโอมิครอน BA.4/5 เผย รพ.หลายที่ให้ซื้อยาต้านไวรัสเอง

วันที่ 11 ก.ค. 2565 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความเล่าประสบการณ์การติดโควิดสายพันธุ์โอมิครอน BA.4/5 ผ่านเฟซบุ๊ก "ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha" โดยระบุว่า หมอเองติดไปแล้วตั้งแต่ 10 มิถุนายน และเช่นเดียวกับอีกหลายคน ตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน แม้ว่าหลายคนจะฉีดเข็มที่สี่หรือห้าหรือหกไปแล้ว
CLICK TO VERIFY: This site uses a GlobalSign SSL Certificate to secure your personal information.